เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้และมุมมองใหม่ (fresh perspectives) ในการวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะในประเทศไทย รวมถึงสร้างศูนย์กลางการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและภาวะดื้อยาปฏิชีวนะที่มาจากหลากหลายสาขาวิชา (Global Interdisciplinary Research Hub)


สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (Antimicrobial resistance) กำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่ท้าทายสังคมโลก คาดการณ์ว่าหากไม่สามารถแก้ไขได้ก็อาจนำไปสู่ยุค “หลังยาปฏิชีวนะ” (Post-Antibiotic Era) หรือยุคที่ยาปฏิชีวนะทุกชนิดไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการต้านทานเชื้อได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อหลายล้านคนทั่วโลกไม่มียารักษา และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อในการผ่าตัดได้อีกต่อไป เนื่องจากการกลายพันธุ์ของเชื้อดื้อยามีความรวดเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

การใช้ยาปฏิชีวนะและสถานการณ์เชื้อดื้อยานั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทุกมิติ ทั้งเรื่องสุขภาพ ความรู้ วัฒนธรรม เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์ และต้องการการทำความเข้าใจแบบ “สหวิทยาการ” (Multidisciplinary) ที่จะนำความรู้จากหลายสาขาวิชามาร่วมกันวิเคราะห์ปรากฏการณ์และสังเคราะห์ออกมาเป็นองค์ความรู้ร่วมกัน ซึ่งการทำงานร่วมของของหลากหลายสาขาวิชานี้จำเป็นต้องมีกลไกการประสานงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกัน เว็บไซต์นี้จึงจัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและภาวะดื้อยาปฏิชีวนะที่มาจากหลากหลายสาขาวิชา (Global Interdisciplinary Research Hub) โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง

1) กลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3) London School of Hygiene and Tropical Medicine ประเทศอังกฤษ และ
4) Infectious Diseases Research Collaboration ประเทศยูกันดา 

ผู้สนับสนุนทุนวิจัย


โครงการวิจัย Amis ได้รับการสนับสนุนจาก

1. Economic and Social Research Council (ESRC)
2. Department of Health
3. The Arts and Humanities Research Council (AHRC).
4. Tackling Antimicrobial Resistance (AMR)
5. Global Challenges Research Fund (GCRF)